วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

การแต่งกายของภาคกลาง


การแต่งกายของภาคกลาง
ในปัจจุบันการแต่งกายของแต่ละภาคได้รับความกลมกลืนกันไปหมด เนื่องมาจากถูกครอบคลุมสิ่งที่เรียกว่าแฟชั่น จึงทำให้การแต่งกายมีความคล้ายคลึงกันไปหมด จนแยกแยะไม่ค่อยออกว่าบุคคลไหนอาศัยอยู่ในภาคใด เราลองไปรื้อฟื้นกันดูว่าในสมัยรุ่นก่อนๆ สมัยคุณ ปู่ ย่า ตา ยาย มีการแต่งกายกันแบบใดบ้าง โดยแยกแยะในแต่ละภาคดังต่อไปนี้

ความหมายของเครื่องแต่งกาย

คำว่า “ เครื่องแต่งกาย “ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกาย การแต่งกายของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สามารถค้นคว้าได้จาก หลักฐานทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นเครื่องช่วยชี้นำให้รู้และเข้าใจถึงแนวทางการแต่งกาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น
ประวัติของเครื่องแต่งกาย
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกายจากสิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า หนังสัตว์ ขนนก ดิน สีต่างๆ ฯลฯ มนุษย์บางเผ่าพันธุ์รู้จักการใช้สีที่ทำมาจากต้นพืช โดยนำมาเขียนหรือสักตามร่างกายเพื่อใช้เป็นเครื่องตกแต่งแทนการใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกาย ต่อมามนุษย์มีการเรียนรู้ ถึงวิธีที่จะดัดแปลงการใช้เครื่องห่อหุ้มร่างกายจากธรรมชาติให้มีความเหมาะสมและสะดวกต่อการแต่งกาย เช่น มีการผูก มัด สาน ถัก ทอ อัด ฯลฯ และมีการวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงการรู้จักใช้วิธีตัดและเย็บ จนในที่สุดได้กลายมาเป็นเทคโนโลยีจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ความแตกต่างในการแต่งกาย
มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่อ่อนแอที่สุดในทางฟิสิกส์ เพราะผิวหนังของมนุษย์มีความบอบบาง จึงจำเป็นต้องมีสิ่งปกคลุมร่างกายเพื่อสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ จากความจำเป็นนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในอันที่จะแต่งกาย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เอง โดยมีสังคมและสิ่งอื่นๆประกอบกัน และเครื่องแต่งกายก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุนั้นๆ คือ
1. สภาพภูมิอากาศ
ประเทศที่อยู่ในภูมิอากาศแถบเส้นอาร์คติก ซึ่งมีอากาศที่หนาวเย็นมาก มนุษย์ในแถบภูมิภาคนี้จะสวมเสื้อผ้าซึ่งทำมาจากหนังหรือขนของสัตว์ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ส่วนในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนอบอ้าว เสื้อผ้าที่สวมใส่จะทำจากเส้นใย ซึ่งทำจากฝ้าย แต่ในทวีปแอฟริกา เสื้อผ้าไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับใช้ในการป้องกันจากสภาพอากาศ แต่เขากลับนิยมใช้พวกเครื่องประดับต่างๆที่ทำจากหินหรือแก้วสีต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาตินำมาตกแต่งร่างกาย เพื่อใช้เป็นเครื่องลางหรือเครื่องป้องกันภูติผีปีศาจอีกด้วย
2. ศัตรูทางธรรมชาติ
ในภูมิภาคเขตร้อน มนุษย์จะได้รับความรำคาญจากพวกสัตว์ปีกประเภทแมลงต่างๆ จึงหาวิธีขจัดปัญหาโดยการใช้โคลนพอกร่างกายเพื่อป้องกันจากแมลง ชาวฮาวายเอี้ยน แถบทะเลแปซิฟิค สวมกระโปรงซึ่งทำด้วยหญ้า เพื่อใช้สำหรับป้องกันแมลง แต่ก็ได้กลายเป็นที่เก็บแมลงเสียมากกว่า ชาวพื้นเมืองโบราณของญี่ปุ่นรู้จักใช้กางเกงขายาว เพื่อป้องกันสัตว์และแมลง
3. สภาพของการงานและอาชีพ
หนังสัตว์และใบไม้สามารถใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากภายนอก เช่น การเดินป่าเพื่อหาอาหาร มนุษย์ก็ใช้หนังสัตว์และใบไม้เพื่อป้องกันการถูกหนามเกี่ยว หรือ ถูกสัตว์กัดต่อย ต่อมา สามารถนำเอาใยจากต้นแฟลกซ์ (
Flax ) มาทอเป็นผ้าที่เรียกกันว่า  ผ้าลินิน  เมื่อความเจริญทางด้านวิทยาการมีมากขึ้น ก็เริ่มมีสิ่งที่ผลิตเพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายชนิด สมัยศตวรรษที่ 19 เสื้อผ้ามีการวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น มีผู้คิดประดิษฐ์เสื้อผ้าพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้สวมใส่ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานประเภทต่างๆ เช่น กลาสีเรือล่าปลาวาฬ คนงานเหมืองแร่ เกษตรกร คนงานอุตสาหกรรม ข้าราชการทหาร ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เป็นต้น
อันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างปฏิบัติงาน ทำให้ความต้องการของมนุษย์ในด้านเสื้อผ้ามีมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ เสื้อผ้าที่ผลิตขึ้นมานั้นได้มีการปรับปรุงและตกแต่งพิเศษเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับอาชีพต่างๆ เช่น ให้มีความคงทนต่อสารเคมี ทนต่อพิษ และ อุณหภูมิ นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งพิเศษอื่นอีก อาทิเช่น ทนต่อการซักและทำความสะอาด ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า ไม่ดูดซึมน้ำ และไม่เป็นตัวนำความร้อน เป็นต้น
4. ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและศาสนา
เมื่อมนุษย์มีสติปัญญามากยิ่งขึ้น มีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มชน และจากการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะนี้เอง จึงจำเป็นต้องมีระเบียบและกฎเกณฑ์ในอันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยไม่มีการรุกรานซึ่งกันและกัน จากการปฏิบัติที่กระทำสืบต่อกันมานี้เอง ในที่สุดได้กลายมาเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมขึ้น
ในสมัยโบราณ เมื่อมีการเฉลิมฉลองประเพณีสำคัญต่างๆ เช่น การเกิด การตาย การเก็บเกี่ยวพืชผล หรือเริ่มมีการสังคมกับกลุ่มอื่นๆ ก็จะมีการประดับหรือตกแต่งร่างกาย ให้เกิดความสวยงามด้วยเครื่องประดับต่างๆ เช่น ขนนก หนังสัตว์ หรือทาสีตามร่างกาย มีการสักหรือเจาะ บางครั้งก็วาดลวดลายตามส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อแสดงฐานะหรือตำแหน่ง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีหลงเหลืออยู่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นชาวพื้นเมืองของประเทศต่างๆ ศาสนาก็มีบทบาทสำคัญในการแต่งกายด้วยเหมือนกัน ในสมัยสงครามทางศาสนา เช่น สงครามครูเสด ซึ่งเป็นสงครามที่ยืดเยื้อนานกว่า 300 ปี การสงครามที่ยาวนานทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างข้าศึกเกิดขึ้น ทำให้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมซึ่งกันและกันตามมา
5. ความต้องการดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม
ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเจริญเติบโตขึ้น ย่อมมีความต้องการความสนใจจากเพศตรงกันข้าม โดยจะมีการแต่งกายเพื่อให้เกิดความสวยงาม มีการจับจ่ายใช้สอยในเรื่องเสื้อผ้ามากยิ่งขึ้น ผู้ที่ทำหน้าที่สนองความต้องการนี้ได้ดีที่สุดก็คือ นักออกแบบเสื้อผ้า ซึ่งได้พยายามออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามระดับของสังคมและเศรษฐกิจของผู้สวมใส่
6. เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม
สถานะภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของมนุษย์ แต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดการแต่งกายที่แตกต่างกันออกไป สังคมทั่วไปมีหลายระดับชนชั้น มีการแบ่งแยกกันตามฐานะทางเศรษฐกิจ เช่น ชนชั้นระดับเจ้านาย ชาวบ้าน และกรรมกร การแต่งกายสามารถบอกได้ถึงสถานภาพทางสังคมของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย
การแต่งกายประจำภาคกลางภาคกลาง 






ภาษาภาคกลาง ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญหรือชาวลาวพวน ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว 

ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม 

การแต่งกายภาคตะวันออก

ในภาคตะวันออกการแต่งกายมีลักษณะเช่นเดียวกับคนภาคกลางเดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาคกลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลางผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้จังมีลักษณะเด่นขัดของตนเองที่แยกออกไปได้

ภาคกลางและภาคตะวันออก  

 ชุดไทย ร.5 - ตัวเสื้อเป็นผ้าลูกไม้เนื้อนุ่ม เอวใส่ลาสติกระบายสวยงามทั้งรอบคอและปลายแขนเสื้อ แขนตุ๊กตาติดกระดุมด้านหลังสวมใส่สบาย โจรกระเบนผ้าตราดลายไทยสอดดิ้น
          เด็กหญิงในสมัยนี้ นุ่งโจงกระเบนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ไม่สวมเสื้อเวลาออกงานจึงสวมเสื้อคอติดลูกไม้ที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า เวลาแต่งตัวเต็มที่นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาวคอปิดแต่งด้วยผ้าลูกไม้งดงาม สวมถุงเท้า รองเท้า เจ้านายที่ทรงพระเยาว์ ทรงฉลองพระองค์แขนยาว พองและทรงเครื่องประดับมาก ยังคงนิยมไว้ผมจุก เมื่อตัดจุกแล้วจึงเริ่มไว้ผมยาว ได้กล่าวไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มีพระราชประสงค์จะให้ชาวต่าง ประเทศดูหมิ่นเหยียดหยามคนไทยว่าแต่งกายเหมือนคนป่า จึงทรงกวดขันเรื่องนี้มากถึงกับโปรดให้ออกประกาศ 2 ฉบับ ใชับังคับราษฎร ฉบับแรกคือ 
          ประกาศห้ามคนแต่งตัวไม่สมควร มิให้ไปมาในพระราชฐานที่เสด็จออก โดยห้ามผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงสวมแต่เสื้อชั้นในหรือไม่สวมเสื้อเลย หรือนุ่งกางเกงขาสั้นเหนือเข่า หรือนุ่งผ้าหยักรั้งไม่ปิดเข่าหรือนุ่งโสร่ง หรือสวมรองเท้าไม่มีถุงเท้า ไม่ว่ารองเท้าชนิดใด ๆ หรือสวมรองเท้าสลิปเปอร์ ตลอดจนเด็กที่เปลือยกายเข้ามาในบริเวณพระราชวังชั้นนอกด้านหน้ากับบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยกเว้นคนทำงานขนของก่อสร้าง กวาดล้าง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรือพาเด็กหรือปล่อยเด็กที่แต่งกายไม่สมควรดังกล่าวล่วงเข้ามาในเขตที่กำหนดไว้ให้นายประตูขับไล่ห้ามปราม ถ้าไม่ฟังให้จับส่งศาลกระทรวงวังตัดสินโทษ ปรับไม่เกินคราวละ 20 บาท หรือขังไว้ใช้การไม่เกินคราวละ 15 วัน หรือทั้งปรับทั้งขังตามควรแก่โทษ ถ้าผู้ทำผิดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลงไป บิดามารดาหรือมูลนายหรือผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น จะต้องรับโทษแทนทุกประการ ประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม ร.ศ.117 (พ.ศ.2441) ให้ใช้บังคับตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ร.ศ.117 เป็นต้นไป
          ชุดราชปแตน - เป็นชุดไทยสำหรับท่านชายแบบทางการใช้ได้กับการใส่เพื่อเข้าร่วมงานพิธีแบบไทย หรือเป็นชุดสำหรับเจ้าบ่าว ในพิธีหมั้นหรือพิธีมงคลสมรส ชุดนี้โดยปกติจะใส่กับโจงกระเบนมีให้เลือก 8 สีด้วยกันตัดเป็นสำเร็จรูปขอบยางยืด
          เครื่องแต่งกายของชายไทยในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ได้ปรับปรุงตามแบบประเพณีนิยมสากลของชาวตะวันตกเป็นครั้งแรก แต่หลังจากเสด็จประพาสอินเดีย-พม่า ในปี พ.ศ.2414 แล้ว มีพระราชดำริว่า การสวมเสื้อนอกแบบฝรั่งซึ่งต้องมีเสื้อเชิ้ต สวมข้างในแล้วยัง มีผ้าผูกคออีกด้วยนั้น ไม่เหมาะสมกับอากาศร้อนของเมืองไทย จึงโปรดให้ดัดแปลงเป็นเสื้อนอกสีขาวคอปิดติดกระดุมตลอดอก 5 เม็ด เรียกว่าเสื้อราชแปตแตนท์ (RajPattern) ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น เสื้อราชปะแตนซึ่งแปลว่า แบบหลวงแต่ยังคงนุ่งผ้าม่วงสีกรมท่าเหมือนเดิม ในสมัยนี้ นิยมสวมหมวกแบบยุโรปหรือหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า ซึ่งมักจะใช้คล้องแขนจึงเรียกว่าไม้ถือต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทหารนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าม่วงโจงกระเบนสีกรมท่า เป็นผลให้ประชาชนเริ่มนิยมนุ่งกางเกงขายาวและสวมหมวกกะโล่กันขึ้นบ้างในตอนปลายรัชกาล 
           การแต่งกายของชายทั่วไป ยังคงนิยมแต่งกายตามสบายเช่นเดียวกับสมัยรัชกาลก่อน ๆ คือ นุ่งผ้าลอยชาย มีผ้าขาวม้าหรือผ้าอะไรก็ได้แต่ะบ่าคลุมไหลหรือคาดพุง ซึ่งคงจะเป็นประเพณีการแต่งกายของคนไทยตามปกติมาแต่โบราณและคาดพุง ไม่นิยมใช้ผ้าแตะบ่า การนุ่งลอยชาย คือ การเอาผ้าทั้งผืนนั้นมาโอบหลังกะให้ชายผ้าข้างหน้าเท่ากัน แล้วขมวดชายพก ค่อนข้างใหญ่เหน็บแน่นติดตัว แล้วทิ้งชายห้อยลงไปข้างหน้า การนุ่งผ้าลอยชายนี้ บางคนชอบนุ่งใต้สะดือ ชายพกที่ค่อนข้างใหญ่นี้เพื่อเก็บกล่องหรือหีบบุหรี่ที่ตนชอบ ส่วนผ้าคาดพุงไม่ว่าจะเป็นผ้าขาวม้าหรือผ้าส่านหรือผ้าอะไรผูกเป็นโบเงื่อนกระทก ไว้ข้างหน้า ทิ้งชายผ้าลงมาเล็กน้อย

            http://www.thaiculture.in.th/readTopic.php?id=28




 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น